Internaet : ความหมาย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโคตอล
ชุดของกฎหรือข้
อตกลงในการแลกเปลียนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพือให้คอมพิวเตอร์
แต่ละเครืองสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง
แต่ละเครืองสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง
ตัวอย่างของโปรโตคอล
2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด
เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP
3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล
ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น
อินเตอร์เน็ต : ประวัติ
ในคริสต์ทศวรรษ
1950 ถึง 1960 ก่อนการแพร่หลายของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายจนเป็นอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
เครือข่ายการสื่อสารส่วนมากยังคงมีข้อจำกัดเนื่องด้วยธรรมชาติของตัวเครือข่ายเอง
ซึ่งทำให้การสื่อสารสามารถกระทำได้ระหว่างสถานีในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น
ข่ายงานบางแห่งมีเกตเวย์หรือบริดจ์ต่อระหว่างกัน
หากแต่เกตเวย์หรือบริดจ์เหล่านั้นยังมีข้อจำกัดหรือมิฉะนั้นก็สร้างขึ้นเพื่อใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
วิธีเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้กันในขณะนั้นวิธีหนึ่งมีพื้นฐานจากวิธีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งคือการยินยอมให้เครื่องปลายทาง (เทอร์มินัล)
ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านทางสายเช่า วิธีนี้ใช้กันในคริสต์ทศวรรษ
1950 โดยโครงการแรนด์ เพื่อสนับสนุนการติดต่อกันระหว่างนักวิจัยที่อยู่ห่างไกลกัน
ตัวอย่างเช่น เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ในเมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนน์ซิลเวเนีย สามารถดำเนินงานวิจัยในเรื่องการพิสูจน์ทฤษฎีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเหล่านักวิจัยซึ่งอยู่อีกฝั่งของทวีปในเมืองแซนทามอนิกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้
ผ่านทางเครื่องปลายทางและสายเช่าได้มีความพยายามที่จะรวมวิธีติดต่อของเครือข่ายต่าง
ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน โดยรอเบิร์ต
อี. คาห์นจากดาร์พาและอาร์พาเน็ตได้ขอตัววินต์
เซิร์ฟจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อทำงานร่วมกับเขาเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน ค.ศ. 1973 ทั้งสองได้พัฒนาแนวทางแก้ไขขั้นมูลฐานขึ้น
โดยในแนวทางนี้ ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์วิธีต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้โดยใช้เกณฑ์วิธีระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งร่วมกัน
และแทนที่ตัวเครือข่ายจะรับผิดชอบเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูลอย่างในอาร์พาเน็ต
โฮสต์จะเป็นผู้รับผิดชอบแทน เซิร์ฟยกความดีความชอบเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ
ในการออกแบบเกณฑ์วิธีนี้ให้แก่ ฮิวเบิร์ต
ซิมเมอร์แมน, เชราร์
เลอลาน และลุย ปูแซง (ผู้ออกแบบเครือข่าย CYCLADES) เมื่อบทบาทของตัวเครือข่ายได้ถูกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดแล้ว
จึงเป็นไปได้ที่จะเชื่อมเครือข่ายใด ๆ แทบทุกแบบเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าคุณลักษณะของเครือข่ายนั้น ๆ จะเป็นเช่นไร
อันเป็นการแก้ปัญหาขั้นต้นที่คาห์นตั้งไว้ ดาร์พาได้เห็นชอบที่จะให้เงินทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบ
และหลังจากการลงแรงเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการสาธิตเกตเวย์อย่างหยาบ ๆ
เป็นครั้งแรกระหว่างเครือข่ายแพกเกตเรดิโอในซานฟรานซิสโกเบย์แอเรียกับอาร์พาเน็ต ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสามแห่ง
ซึ่งได้แก่ อาร์พาเน็ต, เครือข่ายแพกเกตเรดิโอ
และเครือข่ายแอตแลนติกแพกเกตแซเทลไลต์ ซึ่งทั้งหมดอุปถัมภ์โดยดาร์พา
ในส่วนของเกณฑ์วิธี เริ่มต้นจากข้อกำหนดคุณลักษณะรุ่นแรกของ TCP ใน ค.ศ. 1974 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างซึ่งใกล้เคียงกับรูปแบบสุดท้ายในประมาณกลางปีถึงปลายปี
ค.ศ. 1978 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซี
791, 792 และ 793 และได้ถูกนำไปใช้
ดาร์พาได้อุปถัมภ์หรือส่งเสริมการพัฒนาการนำ TCP/IP ไปใช้จริงในระบบปฏิบัติการต่าง
ๆ จากนั้นจึงได้กำหนดตารางเวลาในการโยกย้ายโฮสต์ทุกตัวในเครือข่ายแพก เกตของตนไปใช้
TCP/IP ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้กลายเป็นเกณฑ์วิธีเดียวที่ได้รับการรับรองบนอาร์พาเน็ต
แทนที่เกณฑ์วิธี NCP ที่ใช้แต่เดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น