วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ทำไมต้องมี พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
เพราะคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และมีการใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ ซึ่งส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น นอกจากนี้ยีงมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือลามกอนาจาร ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะการกระทำความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
ตัวอย่าง....
1. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
2. การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
3. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย
ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
4. การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
5. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่น
6. การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
7. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ซึ่งผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำ
ความผิด
8. การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้
เจตนารมณ์ของกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550
เพื่อกำหนด.....
ฐานความผิดและบทลงโทษ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ของผู้ให้บริการ
 
มาตรา ๕ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา ๖ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง
มาตรา ๗ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๙ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๐ การรบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๑ สแปมเมล์ (Spam Mail)
มาตรา ๑๒ การกระทำความผิดต่อ ประชาชนโดยทั่วไป / ความมั่นคง
มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด
มาตรา ๑๔ นำเข้า ปลอม/ เท็จ /ภัยมั่นคง /ลามก/ ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการมาตรา ๑๖ การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง
หมวดที่ ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา ๑๙ ข้อจำกัด/การตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๐ การใช้อำนาจในการ block เว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบต่อความมั่นคงหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย
มาตรา ๒๑ การเผยแพร่/จำหน่ายชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเผยแพร่ข้อมูลที่ได้มาตามมาตรา ๑๘
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูล
มาตรา ๒๔ ความรับผิดของผู้ล่วงรู้ข้อมูลที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘
มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ
มาตรา ๒๖ ถึง ๒๗ หน้าที่ผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และความรับผิด หากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๙ การรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษ จับ ควบคุม ค้น & การกำหนดระเบียบ/แนวทางและวิธีปฏิบัติ
มาตรา ๓๐ การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
 
 
แหล่งที่มา : http://www.thaiall.com/article/law.htm
                  http://www.youtube.com/watch?v=yTt3Xa-8LZo
                    

Windows Live SkyDrive


Windows Live SkyDrive : ความหมาย
 
 
 
 
 
 

                          จัดเก็บ จัดระเบียบ และดาวน์โหลดไฟล์ รูปถ่าย และรายการโปรดของคุณในเซิร์ฟเวอร์ Windows Live และเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แบ่งปันรูปถ่ายและไฟล์ที่คุณสร้างกับเพื่อน ร่วมกันทำงานบนเอกสาร หรือแสดงรูปถ่ายและไฟล์ที่คุณสร้างเพื่อทุกคนบนเครือข่าย Windows Live เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้เว็บไซต์ Windows Live SkyDriveด้วย Windows Live ID ของคุณ คุณจะได้รับ:· พื้นที่จัดเก็บ จัดเก็บรูปถ่ายและไฟล์ได้กว่าหลายพันไฟล์ ตัววัดพื้นที่จัดเก็บของ SkyDrive จะแสดงให้เห็นว่าคุณใช้พื้นที่ว่างไปแล้วเท่าใดการจัดระเบียบ จัดเรียงไฟล์ของคุณในโฟลเดอร์ระดับบนสุดและโฟลเดอร์ย่อยที่คุณสร้าง·การควบคุม เลือกการอนุญาตสำหรับโฟลเดอร์ระดับบนสุดแต่ละโฟลเดอร์ที่คุณสร้าง เก็บรูปถายและรายการโปรดของคุณในโฟลเดอร์ส่วนบุคคลเพื่อใช้งานส่วนตัว หรือในโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อใช้งานร่วมกันกับเครือข่ายWindows Live ของคุณ เครือข่ายเพิ่มเติมของคุณ และบุคคลในรายชื่อผู้ติดต่อ หรือในโฟลเดอร์สาธารณะเพื่อให้ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตดู·
ความสะดวก ติดตามรายการไซต์ที่คุณชื่นชอบแม้ในขณะที่คุณไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ของคุณเอง
ความยืดหยุ่น ย้าย คัดลอก ลบ เปลี่ยนชื่อ และใส่คำอธิบายรูปถ่ายและไฟล์หลังจากที่อัปโหลดแล้ว·
การแสดงผล รูปถ่ายที่บันทึกเป็นชนิดไฟล์ JPG, JPEG, GIF, BMP, PNG, TIF และ TIFFจะแสดงด้วยรูปขนาดย่อ และผู้ใช้อื่นๆ สามารถดูได้ในSkyDrive หรือในการแสดงภาพสไลด์แบบออนไลน์ หากพวกเขามีสิทธิ์ที่เหมาะสมในการดูรูป·
การใช้ร่วมกัน แบ่งปันลิงค์ร่วมกันโดยตรงไปยังโฟลเดอร์ ไฟล์ และรูปถ่ายของคุณ หรือEmbed รูปถ่ายและไฟล์ในบล็อกหรือเว็บเพจ คุณยังสามารถให้บุคคลทราบว่าเพิ่มรูปภาพของพวกคุณลงใน SkyDrive ได้โดยการเพิ่มแท็กบุคคล
 
 

 

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Socail Network

Social Netword : ความหมาย
Social Network คืออะไร           Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก............... การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย

............... Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน

Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเทศที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
              ในขณะที่ การแบ่งหมวดหมู่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ได้จำแนกหมวดหมู่ หรือ ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ไว้ใน บทบาทของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการเข้าเป็นสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ กล่าวคือ
1. Face Book (www.facebook.com)
Mark Zuckerberg ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี เท่านั้น
ภายในเวลาเพียง 3 ปี เว็บที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บชุมชนออนไลน์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย กลายเป็นเว็บที่มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 19 ล้านคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการในหน่วยงานรัฐบาล และพนักงานบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ เข้าเว็บนี้เป็นประจำทุกวัน และขณะนี้กลายเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ในสหรัฐ 1% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้บน Internet ถูกใช้ในเว็บ Facebook
นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวัน และกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ Google และเว็บยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในการดึงดูดวิศวกรรุ่นใหม่ใน Silicon Valley นักวิเคราะห์คาดว่า Facebook จะทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
2. Hi5 (www.hi5.com)
เว็บ Hi5 เป็นเว็บที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 7 แสนคน สำหรับหลายคนที่รู้จักและใช้บริการอยู่คงจะไม่ต้องอธิบายกันมากนัก เพราะคงรู้จุดประสงค์และการใช้งานดีอยู่แล้ว แต่หลายๆคนยังไม่ทราบว่าเจ้า hi5 นี่ใช้งานยังไง มีทำไม และเพื่อประโยชน์อะไร
Hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง มีลักษณะคล้ายกับ blog จะเน้นที่ตกแต่งหน้าตา profile เราให้สวยงาม ดึงดูดคนมาเข้า แต่จุดเด่นของมันอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ
ข้อดีของ Hi5
1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและเพื่อนเก่า ที่บางคนอาจจะเลือนหายไปกับความทรงจำ
2. มีการเก็บรักษาความส่วนตัว ที่ใช้ได้ในระดับหนึ่ง
3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการตกแต่ง hi5 ให้สวยงามก็ทำได้ง่าย
4. มีลักษณะเหมือน blog ทั่วไป แต่มีความทันสมัยและนิยมใช้งานกันมาก
ข้อเสียของ Hi5
1. หากมีการพัฒนาหรือปรับปรุงเว็บ เครือข่ายอาจจะล่มในบางครั้ง
2. การใส่ลูกเล่นหรือการปรับแต่งอาจมีน้อย เพราะมี pattern อยู่แล้ว สิ่งที่จะปรับได้ก็จะเป็นในส่วนของแบคกราวน์ สีตัวอักษร ตัวอักษร ใส่เพลง วิดีโอและคลิป
3. ไม่มีประโยชน์เท่ากับการทำบล็อก เพราะคนจะเข้ามาดูรูปและข้อความเป็นส่วนใหญ่
3. Twitter (www.twitter.com)
ทวิตเตอร์(Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทำการทวีต (tweet - ส่งเสียงนกร้อง) ทวิตเตอร์ก่อตั้งโดยบริษัท Obvious Corp เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์,อีเมล,เอสเอ็มเอส,เมสเซนเจอร์หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร
ปัจจุบันประเทศไทยเองก็มีบริการลักษณะนี้เช่นกัน นั่นคือ Noknok และ Kapook OnAir เว็บไซต์แห่งหนึ่งถึงกับรวบรวมบริการแบบเดียวกับทวิตเตอร์ได้ถึง 111 แห่ง ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์เดิมทีนั้นพัฒนาด้วย Ruby on Rails จนเมื่อราวสิ้นปี ปี 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา จนกระทั่งปี 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 ปี 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก และเป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ ภายในนิตตสารบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าวที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์ โดยทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2006
4. Friendster (www.friendster.com)
Friendster ได้ก้าวขึ้นมาสู่แนวหน้าของเว็บไซต์ Social Network เมื่อประมาณเดือนเมษายน ปี 2004 ก่อนจะถูกครองตลาดโดย MySpace ในเรื่องของผู้เข้าชมและจากการจัดอันดับของ Social Network นั้น Frienster ได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่แข่งของทั้ง Windows Live,MySpaces,Yahoo!360 และ Facebook ซึ่งในเวลาต่อมาก็ยังมี Hi5 ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญอีกด้วย
บริษัทเสริช์เอนจิ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Google เคยยื่นข้อเสนอขอซื้อ Friendster ในมูลค่า 30,000,000 ดอร์ลาห์สหรัฐ แต่ก็ถูกปฏิเสธ เพราะทาง Friendster ตัดสินใจว่าต้องการเป็นของส่วนตัวมากกว่าที่จะยื่นขายให้กับ Google และในปัจจุบันเว็บ Social Network อย่าง Friendster.com มีผู้ใช้งานมากกว่า 7 ล้านคนภายในปีเดียว
5. MySpace (www.myspace.com)
My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็ Web Blog อยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย กับไดอะรี่ แต่ไม่ใช่นะครับ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหาว่าจะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็นไดอะรี่ นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไร
มายสเปซ(MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชน ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มายสเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม ปี 2003 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน
ข้อดีของ MySpace
1. มีลูกเล่นค่อยข้างมากกว่าไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Layout, Music ,Photo เป็นต้น รวมทั้ง
2. มีการแสดงให้เห็นใน Contact list ของ MSN อีกด้วย
3. สามารถกำหนดสิทธิคนที่จะเข้าดูได้หลายระดับ
ข้อเสียของ MySpace
1. เปิดแสดงผลได้ช้ามาก หากบล็อกมีลูกเล่นเยอะ
2. ยังไม่สามารถใส่ script แบบไดอารี่ หรือ บล็อกในหลายๆ ที่ได้
3. การเลือกจำนวนของ Entry หรือบทความที่จะแสดงในหน้าแรกของบล้อกได้ต่ำสุดที่ 5
4. ความสามารถ ในส่วนของการกำหนดขนาดตัวอักษร ยังไม่มีมีการให้ใส่หรือเลือกขนาดตัวอักษรสำหรับบทความได้ในจุดไหน ซึ่งอันนีมีความสำคัญทีเดียว การเล่นตัวอักษรเล็กและใหญ่



 
 
 

 

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่อง Internet


Internaet : ความหมาย
 

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
 
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโคตอล

ชุดของกฎหรือข้ อตกลงในการแลกเปลียนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพือให้คอมพิวเตอร์
แต่ละเครืองสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง


ตัวอย่างของโปรโตคอล


1. โปรโตคอล HTTP หรือ Hypertext Transfer Protocol จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)

2. โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transfer Control Protocol/Internet Protocolคือเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP

3. โปรโตคอล SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol คือ โปรโตคอล ที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นอกจากโปรโตคอลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโปรโตคอลต่างๆอีกมากมาย เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอลชื่อ FTP หรือ File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP หรือ Network News Transfer Protocol และยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชอว่า ICMP หรือ Internet Control Message Protocolเป็นต้น


อินเตอร์เน็ต : ประวัติ

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1960 ก่อนการแพร่หลายของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายจนเป็นอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เครือข่ายการสื่อสารส่วนมากยังคงมีข้อจำกัดเนื่องด้วยธรรมชาติของตัวเครือข่ายเอง ซึ่งทำให้การสื่อสารสามารถกระทำได้ระหว่างสถานีในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ข่ายงานบางแห่งมีเกตเวย์หรือบริดจ์ต่อระหว่างกัน หากแต่เกตเวย์หรือบริดจ์เหล่านั้นยังมีข้อจำกัดหรือมิฉะนั้นก็สร้างขึ้นเพื่อใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น วิธีเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้กันในขณะนั้นวิธีหนึ่งมีพื้นฐานจากวิธีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งคือการยินยอมให้เครื่องปลายทาง (เทอร์มินัล) ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านทางสายเช่า วิธีนี้ใช้กันในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยโครงการแรนด์ เพื่อสนับสนุนการติดต่อกันระหว่างนักวิจัยที่อยู่ห่างไกลกัน ตัวอย่างเช่น เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ในเมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนน์ซิลเวเนีย สามารถดำเนินงานวิจัยในเรื่องการพิสูจน์ทฤษฎีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเหล่านักวิจัยซึ่งอยู่อีกฝั่งของทวีปในเมืองแซนทามอนิกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ ผ่านทางเครื่องปลายทางและสายเช่าได้มีความพยายามที่จะรวมวิธีติดต่อของเครือข่ายต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน โดยรอเบิร์ต อี. คาห์นจากดาร์พาและอาร์พาเน็ตได้ขอตัววินต์ เซิร์ฟจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อทำงานร่วมกับเขาเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน ค.ศ. 1973 ทั้งสองได้พัฒนาแนวทางแก้ไขขั้นมูลฐานขึ้น โดยในแนวทางนี้ ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์วิธีต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้โดยใช้เกณฑ์วิธีระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งร่วมกัน และแทนที่ตัวเครือข่ายจะรับผิดชอบเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูลอย่างในอาร์พาเน็ต โฮสต์จะเป็นผู้รับผิดชอบแทน เซิร์ฟยกความดีความชอบเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ ในการออกแบบเกณฑ์วิธีนี้ให้แก่ ฮิวเบิร์ต ซิมเมอร์แมน, เชราร์ เลอลาน และลุย ปูแซง (ผู้ออกแบบเครือข่าย CYCLADES) เมื่อบทบาทของตัวเครือข่ายได้ถูกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดแล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเชื่อมเครือข่ายใด ๆ แทบทุกแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าคุณลักษณะของเครือข่ายนั้น ๆ จะเป็นเช่นไร อันเป็นการแก้ปัญหาขั้นต้นที่คาห์นตั้งไว้ ดาร์พาได้เห็นชอบที่จะให้เงินทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบ และหลังจากการลงแรงเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการสาธิตเกตเวย์อย่างหยาบ ๆ เป็นครั้งแรกระหว่างเครือข่ายแพกเกตเรดิโอในซานฟรานซิสโกเบย์แอเรียกับอาร์พาเน็ต ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสามแห่ง ซึ่งได้แก่ อาร์พาเน็ต, เครือข่ายแพกเกตเรดิโอ และเครือข่ายแอตแลนติกแพกเกตแซเทลไลต์ ซึ่งทั้งหมดอุปถัมภ์โดยดาร์พา ในส่วนของเกณฑ์วิธี เริ่มต้นจากข้อกำหนดคุณลักษณะรุ่นแรกของ TCP ใน ค.ศ. 1974 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างซึ่งใกล้เคียงกับรูปแบบสุดท้ายในประมาณกลางปีถึงปลายปี ค.ศ. 1978 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซี 791, 792 และ 793 และได้ถูกนำไปใช้ ดาร์พาได้อุปถัมภ์หรือส่งเสริมการพัฒนาการนำ TCP/IP ไปใช้จริงในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จากนั้นจึงได้กำหนดตารางเวลาในการโยกย้ายโฮสต์ทุกตัวในเครือข่ายแพก เกตของตนไปใช้ TCP/IP ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้กลายเป็นเกณฑ์วิธีเดียวที่ได้รับการรับรองบนอาร์พาเน็ต แทนที่เกณฑ์วิธี NCP ที่ใช้แต่เดิม